วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เกาลัดจีน มีสรรพคุณ

เกาลัดจีน ปัจจุบันบ้านเรามีปลูกเชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวางบนดอยวารีทางภาคเหนือ และเรียก “เกาลัดจีน” พันธุ์ดังกล่าวว่า “เกาลัดพันธุ์วารี” และมีต้นพันธุ์ถูกนำออกวางขายเมื่อไม่นานมานี้ ประกอบกับเกาลัดจีน มีสรรพคุณทางสมุนไพรดี สามารถปลูกได้ในบ้านเราตามที่กล่าวข้างต้น


โดยสรรพคุณทางยา ตำรายาจีนระบุว่า เปลือกผลเกาลัด เป็นยาบำรุงร่างกายและบำรุงไตได้ มีวิธีง่าย ๆ คือ เอาเปลือกผลเกาลัดจีนชั้นนอกที่แก่จัด ทุบออกจาเนื้อจำนวน 10 ผล ไก่รุ่นกระทงครึ่งตัว (ถ้าเป็นไก่ดำจะดีมาก) ขิง 1 แว่น น้ำสะอาด 6 ชาม เอาเยื่อด้านในเปลือกออก ลอกหนังไก่พร้อมเอาเครื่องในออก ทาด้วยเกลือป่นทิ้งไว้สักครู่ แล้วล้างน้ำให้สะอาดสับเป็น 4 ชิ้น ใส่ลงหม้อพร้อมเปลือกผลเกาลัดจีน ขิง เติมน้ำต้มไฟแรงจนเดือดแล้วหรี่ไฟอ่อนต้มต่อ 2 ชั่วโมง ดับไฟปรุงรสด้วยเกลือป่นกินทั้งน้ำและเนื้อ จะช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงบำรุงไตดีมา


อีกวิธี ใช้เปลือกผลเกาลัดจีน 120 กรัม ฟักเขียว 60 กรัม (ควงตัวฮวบ) มีขายตามร้านยาจีน 9 กรัม ใบหม่อนสด 6 กรัม น้ำ 4 ชาม ต้มให้เดือดหรี่ไฟต้มต่อ 1 ชั่วโมง รินเอาเฉพาะน้ำดื่มขณะอุ่น เป็นยาแก้หอบ หืด แก้ไอกรน วัณโรคในต่อมน้ำเหลือง บำบัดอาการหลอดลมอักเสบในคนชรา ขับเสมหะ แก้อาการต่อมน้ำเหลืองที่ลำคออักเสบและแก้ร้อนในได้


เกาลัดจีน มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ CASTANEA MOLLISSIMA อยู่ในวงศ์ FAGACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูงตั้งแต่ 5-15 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนเกือบมน สีเขียวสด เวลาใบแก่หรือแห้ง จะเป็นสีชมพูสวยงามน่าชมยิ่ง




ดอก ออกเป็นช่อเหนือรอยแผลใบปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ช่อดอกห้อยลง ลักษณะดอกคล้ายโคมไฟ เป็นสีชมพู หรือ สีขาวหม่นอมเขียว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เวลามีดอกจะดูสวยงามน่ารักมาก



ผล ออกรวมกันเป็นกลุ่ม มี 2 ผล เป็นสีแดงหรือสีแสด รูปค่อนข้างกลม เปลือกผลแข็ง ปลายผลมักมีจะงอยโค้งเล็กน้อย ผลแก่แตกได้ เมล็ดสีน้ำตาล เนื้อในสีนวลรับประทานได้ รสชาติหวานมันอร่อยมาก เมื่อนำไปคั่วให้สุก มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักรทุกวันพุธ-พฤหัสบดี บริเวณโครงการ 19 แผงนายดาบสมพร

ความรู้เรื่องไต


ไตเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดและขับออกพร้อมกับน้ำในรูปของปัสสาวะ แขนงของวิชาแพทย์ที่ศึกษาไตและโรคที่เกี่ยวข้องกับไตเรียกว่าวิทยาระบบไต (Nephrology)


ไตของมนุษย์อยู่ที่ส่วนล่างของช่องท้อง มีสองข้างซ้ายขวา ไตขวาอยู่ด้านใต้ติดกับตับ ไตซ้ายอยู่ใต้กะบังลมและอยู่ติดกับม้าม ข้างบนไตทั้งสองข้างมีต่อมหมวกไต (Adrenal gland) อยู่ เนื่องจากในช่องท้องมีตับอยู่ทำให้ร่างกายสองข้างไม่สมมาตรกัน ตำแหน่งของไตขวาจึงอยู่ต่ำกว่าไตซ้ายเล็กน้อย ประมาณ1เซนติเมตร และไตซ้ายยังอยู่ค่อนมาทางกลางลำตัวมากกว่าไตขวาเล็กน้อยเช่นกัน



ไตเป็นอวัยวะที่อยู่หลังเยื่อบุช่องท้อง (Retroperitoneal organ) อยู่ในระดับประมาณกระดูกสันหลังท่อนที่ T12 ถึง L3 บางส่วนของส่วนบนของไตถูกปกป้องโดยกระดูกซี่โครงคู่ที่ 11 และ 12 นอกจากนั้นแล้วไตทั้งลูกยังถูกห่อหุ้มด้วยชั้นไขมันสองชั้น (perirenal fat และ pararenal fat) ในบางครั้งอาจมีความผิดปกติแต่กำเนิดทำให้มีไตเพียงหนึ่งข้าง หรือไม่มีเลยก็เป็นไปได้ ไต มี 2 ชั้น คือ 1.ชั้นนอก เรียกว่า คอร์เทกซ์ (cortex) -มีสีแดง เพราะว่ามี โกบเมรูลัสอยู่ในชั้นนี้ 2.ชั้นใน เรียกว่า เมดูลลา (medulla) -มีสีขาว เพราะว่าส่วนใหญ่มีแต่ท่อหน่วยไต


การทำงานของไต


หลอดเลือดที่นำเลือดมายังไตเป็นหลอดเลือดที่ออกจากหัวใจ ซึ่งจะลำเลียงทั้งสารที่มีประโยชน์และของเสียที่ต้องการกำจัดออก สารต่างๆที่เลือดลำเลียงมาจะถูกส่งเข้าสู่หน่วยไตโดยผ่านไปตามหลอดเลือดฝอย เพื่อให้หน่วยไตทำหน้าที่กรองสารที่อยู่ในเลือดก่อน ข้อมูลจากการทดลองพบว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงและสารจำพวกโปรตีนบางชนิด เช่น เฮโมโกลบิน ไม่สามารถผ่านเข้าสู่หน่วยไตได้ สำหรับสารบางจำพวก เช่น น้ำตาลกลูโคส กรดอะมิโน และของเสียอื่นๆ จะผ่านเข้าสู่หน่วยไตได้และจะไหลเข้าไปตามท่อของหน่วยไต
แร่ธาตุและสารบางชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอยู่นั้น เมื่อผ่านไปตามท่อของหน่วยไตจะถูกผนังของหน่วยไตดูดซึมกลับคืนเข้าสู่หลอดเลือดฝอยใหม่ ส่วนของเสียอื่นๆนั้น ซึ่งจะรวมเรียกว่า น้ำปัสสาวะ จะถูกส่งผ่านไปตามหลอดไตและเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะต่อไป จากนั้นจึงถูกขับออกจากร่างกายในรูปของของเหลว คือ น้ำปัสสาวะนั่นเอง
โดยปกติน้ำตาลกลูโคสเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจะถูกผนังของหน่วยไตดูดซึมกลับเข้าสู่หลอดเลือดฝอยหมด แต่ถ้ากรณีที่มีน้ำตาลกลูโคสในเลือดมากเกินไปหน่วยไตจะไม่ดูดซึมน้ำตาลกลูโคสกลับจนหมด และ จะปล่อยออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ในกรณีที่ตรวจพบว่าในน้ำปัสสวะมีอนุภาคของน้ำตาลกลูโคสมากผิดปกติ แสดงว่าบุคคลผู้นั้นกำลังมีอาการของโรคเบาหวาน
กระเพาะปัสสาวะปกติมีความจุได้ประมาณ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่เมื่อในกระเพาะปัสสาวะมีน้ำปัสสาวะประมาณ 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ร่างกายจะรู้สึกอยากปัสสาวะ